วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

พระใต้น้ำจังหวัดพะเยา


เจาะแผนกู้วัดโบราณ 20 แห่งใต้น้ำกว๊านพะเยา


ขณะนี้มีกระแสขัดแย้งทางความคิดที่จังหวัดพะเยาในเรื่องการกู้วัดโบราณ 20 แห่งใต้น้ำในกว๊านพะเยา เป็นวันมีอายุไม่น้อยกว่า 500 ปี จมอยู่ในกว๊านพะเยามานานกว่า 66 ปี ซึ่งกว๊านพะเยาถือเป็นบึงธรรมชาติขนาดใหญ่รูปพระจันทร์เสี้ยวเกือบครึ่งวงกลม เนื้อที่กว้างประมาณ 12,800 ไร่  ถือว่าเป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีธรรมชาติงดงามอยู่ใจกลางเมืองพะเยา มีทิวเขาเป็นฉากงดงามมากครับ
อธิบายก่อนเข้าเรื่องอีกนิดว่าคำว่า บึง” ภาษาพื้นเมือง เรียกว่า กว๊าน” หมายความว่าเป็นการกว้านเอาน้ำจากห้วยหนองคลองบึงและแม่น้ำลำธารต่างๆ มาไว้ในที่แห่งเดียวจึง
กว๊านพะเยาเป็นแหล่งน้ำที่เกิดจาการยุบตัวของเปลือกโลกเมื่อประมาณ 70 ล้านปีมาแล้วเป็นแอ่งน้ำซึ่งเป็นที่รวบรวมของลำห้วยต่างๆ 18 สาย ต่อมาในปี2478 กรมประมงได้ตั้งสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยาขึ้นบริเวณต้นแม่น้ำอิงและสร้างฝายกั้นน้ำทำให้เกิดเป็นบึงขนาดใหญ่ มีความลึกเฉลี่ย 1.5 เมตรความสูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 386.40 เมตร
เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อปลายปี 2549 ที่ผ่านมามีการสำรวจกว๊านพะเยาก็พบว่ามีวัดโบราณกว่า 20 แห่ง โดยมีวัดหลักคือวัดติโลกอาราม จมอยู่ใต้น้ำในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยาก็มีแนวคิดการกกู้วัดทั้งหมดขึ้นมาเพื่อเปิดให้นักท่องเที่ยวทั่วไปเช่าเรือพายชมวัดเก่าโบราณดังกล่าว พร้อมชมวิถีชีวิตประมงพื้นบ้านรอบกว๊าน ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ได้
โดยมีแผนงานคือ
1.   ก่อสร้างคันกั้นน้ำ คอนกรีตขนาดประมาณ 150 x 150 เมตร เนื้อที่ประมาณ 14 ไร่ ล้อมรอบโบราณสถาน โดยใช้งบประมาณเบื้องต้น 300 ล้านบาท
2.     ขุดแต่ง บูรณะโบราณสถานที่จมอยู่ใต้น้ำ
3.     ก่อสร้างวิหารประดิษฐ์สถานพระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยา องค์เดิมที่เคยอยู่วัดนี้ อายุกว่า 500 ปี พระเจดีย์ พญานาค ตามศิลปะทางประวัติศาสตร์พะเยา นอกบริเวณโบราณให้พ้นน้ำไม่ถมดิน โดยให้มีน้ำในกว๊านไหลผ่านออกได้
ทั้งนี้มีการประเมินว่าน่าจะใช้งบประมาณ 1,500 ล้านบาท จะหามาโดยการเปิดบัญชีระดมทุน  
กระแสหลักขณะนี้ก็อยากบูรณะ อีกด้านหนึ่งก็ไม่เห็นด้วยเพราะว่าวัดติโลกอารามเป็นโบราณสถานที่จมอยู่ใต้น้ำเป็นเวลานาน ตัววัดถูกแช่จนเกิดการกัดกร่อน ซึ่งถ้าบูรณะขึ้นมาก็จะไม่เกิดประโยชน์ นอกจากนั้นหากมีการบูรณะก็จะทำให้เกิดการทำลายระบบนิเวศน์ของลำน้ำ และเชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพราะกว๊านพะเยาเป็นอ่างเก็บน้ำที่มีระบบนิเวศน์กว้าง แถมต้องใช้งบประมาณมากเป็นพันล้านบาท เป็นต้น
อย่างไรก็ตามที่เกิดขึ้นแล้วทุกวันนี้ในทุกคืนของ  15 ค่ำ ก็จะได้ยินเสียงพระสวดมนต์ ณ บริเวณวัดร้างในกว๊านพะเยากระหึ่มไปทั่วกว๊านในยามกลางคืนซึ่งเป็นกระบวนการในการกู้วัด ถ้าคนไม่รู้ไปได้ยินเข้าก็คงวังเวง ขนลุกพิกล
นายธนเษก อัศวานุวัตร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กล่าวเกี่ยวกับโครงการนี้ว่าได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำนุบำรุงพุทธศาสนา ซึ่งควรจะได้บูรณะวัดติโลกอารามที่จมอยู่ใต้กว๊านพะเยามานานแล้ว นอกจากนั้นจังหวัดพะเยาเป็นจังหวัดที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของคนในภาคอื่นมากเท่าที่ควร ซึ่งในการพัฒนาจังหวัดนอกจากจะดูเรื่องเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงยังต้องส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยว จึงมีแนวคิดการดึงจุดขายของกว๊านพะเยาออกมาเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว

นอกจากนั้นยังได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา ภายใต้โครงการกู้วัดติโลกอารามและได้ประสานความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และผู้เชี่ยวชาญโบราณคดีภายในจังหวัด โดยขณะนี้ก็เร่งประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนทราบและจะต้องมีการทำประชาพิจารณ์ในลำดับต่อไป ถ้าโครงการบูรณะมีคนเห็นด้วยมาก ก็จะดำเนินงานต่อไป ถ้าไม่ผ่านก็ไม่มีการบูรณะ  
 ขณะที่อาจารย์เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ นักวิชาการท้องถิ่นและผู้เชี่ยวชาญการแปลอักษรฝักขาม ที่บันทึกในศิลาจารึก พบในวัดติโลกอาราม หนึ่งในคณะทำงานซึ่งผู้ว่าราชการฯ แต่งตั้ง กล่าวว่าหลังจากที่มีการพบแผ่นศิลาจารึกในวัดติโลกอาราม ซึ่งมีความกว้างประมาณ 30เซนติเมตร ลักษณะเป็นใบเสมา ผู้ว่าราชการจังหวัดฯได้สั่งให้ดำเนินการแปลและศึกษาประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นแผ่นศิลาจารึกที่พบเพียงท่อนกลาง ส่วนท่อนบนกับท่อนล่างยังหาไม่พบ ทั้งนี้ในการบูรณะผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาได้วางโครงสร้างไว้แต่ยังไม่ชัดเจน โดยต้องวิเคราะห์ศิลาจารึกทั้งในเชิงประวัติศาสตร์เพื่อหาความเป็นมา ซึ่งต้องใช้เวลานานและมีการวิเคราะห์แบบย่อ เพื่ออ่านว่าในศิลาจารึกเขียนว่าอย่างไรโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการตรวจสอบพิกัด ที่ตั้งของวัด รูปพรรณสันฐานที่สำคัญ ความกว้าง ยาวของวัด ขณะนี้ได้ดำเนินการไปบางส่วนแล้ว

นายปฎิพัฒ พุ่มพงษ์แพทย์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ จังหวัดน่าน กล่าวว่า  ตนไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการบูรณะ เพราะวัดติโลกอารามเป็นโบราณสถานที่จมอยู่ใต้น้ำเป็นเวลานาน ตัววัดถูกแช่จนเกิดการกัดกร่อน ซึ่งถ้าบูรณะขึ้นมาก็จะไม่เกิดประโยชน์ นอกจากนั้นวิธีการสร้างกำแพงคอนกรีตฝังดิน เพื่อกั้นน้ำแล้วสูบน้ำออก ถ้ามีการขุดลงไปลึกน้ำก็ซึมขึ้นมาอีก ซึ่งถือเป็นเรื่องยาก นอกจากนั้นหากมีการบูรณะก็จะทำให้เกิดการทำลายระบบนิเวศน์ของลำน้ำ และเชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพราะกว๊านพะเยาเป็นอ่างเก็บน้ำที่มีระบบนิเวศน์กว้าง
ด้านนายวิมล ปิงเมืองเหล็ก ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา กล่าวว่าวัดติโลกอาราม สันนิษฐานว่า เป็นวัดที่อยู่ในสมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ลำดับที่ 10 ของราชวงศ์มังราย ถือเป็นวัดป่า(อรัญวาสี) ที่สร้างอยู่กลางแม่น้ำอิง ต่อมากรมประมงได้สร้างประตูน้ำขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม จึงทำให้วัดจมลงอยู่ใต้กว๊านพะเยา ทั้งนี้การบูรณะวัดแห่งนี้ ซึ่งมีการคาดการณ์จากหลายฝ่ายว่าจะต้องใช้เงินนับ 1,000 ล้านบาท นอกจากนั้นบริเวณวัดตั้งอยู่ปากทางแม่น้ำอิง ในช่วงเดือน มิถุนายน - สิงหาคม เป็นฤดูน้ำท่วมอาจเกิดน้ำท่วมระหว่างการบูรณะได้ ถ้าต้องบูรณะขึ้นมาก็เหมือนเป็นการถมกว๊านพะเยาอีกทางหนึ่ง
ประธานสภาวัฒนธรรมให้เหตุผลว่า ขณะนี้มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการกู้วัดเก่ากลางกว๊านพะเยา สิ่งผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถดำเนินการในเชิงการท่องเที่ยวได้โดยไม่ต้องบูรณะ คือ การประชาสัมพันธ์สร้างกระแสให้คนสนใจว่าวัดกลางน้ำเป็นโบราณสถานที่ควรค่าทางโบราณสถานหรือประชาสัมพันธ์ในเชิงท่องเที่ยว โดยดึงคนเข้ามาเที่ยวในช่วงหน้าร้อนในช่วงเดือน มี.ค. - พฤษภาคม ที่จะสามารถพบเห็นวัดแห่งนี้ได้เพียงช่วงเวลาสำคัญนี้เท่านั้น และหากพ้นช่วงแล้งไป เข้าสู่ฤดูน้ำหลากวัดก็จมลงใต้น้ำไปไม่ปรากฏให้เห็น ซึ่งก็มีความน่าสนใจได้เช่นกัน  
 ประวัติเมืองพะเยา/วัดใต้บาดาลกว๊านพะเยา

เมืองพะเยาเริ่มก่อตั้งโดย พ่อขุนจอมธรรม มีโอรสคือขุนเจือง ขึ้นครองราชย์ในราว พ.ศ.1663 ขุนเจืองเป็นกษัตริย์ ที่ทรงอานุภาพมาก ทรงแผ่ขยายอำนาจไปปราบปรามเมืองแพร่ น่าน ล้านช้าง จนถึงเมืองแกว ต่อมาในราว พ.ศ.1801 พะเยาในรัชสมัยพ่อขุนงำเมือง อาณาจักรพะเยามีความยิ่งใหญ่คู่กับอาณาจักรมังราย (เชียงราย) และอาณาจักรพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย อาณาจักรพะเยาจึงมีความเจริญรุ่งเรือง ทั้งอาณาจักรและศาสนจักร ในปี พ.ศ.1831 กษัตริย์ทั้งสามพระองค์ ได้แก่ พ่อขุนมังราย พ่อขุนงำเมือง พ่อขุนรามคำแหง ซึ่งเป็นพระสหายกัน ทรงนัดหมายไปประชุมหมายกระทำพิธีสัจปฏิญาณต่อกันที่ฝั่งแม่น้ำสายตา บริเวณแม่น้ำสายตาที่กษัตริย์ทั้ง พระองค์ ทรงกระทำพิธีปฏิญาณต่อกันนั้นต่อมาเรียกว่า แม่น้ำอิง” (บริเวณทิศตะวันออกติดกับกว๊านพะเยา)
ผลแห่งการให้สัตยาบันแก่กัน ครั้งนั้น ภายหลังพ่อขุนมังราย มีความประสงค์ สร้างเมืองเชียงใหม่ ได้เชิญพระสหายทั้งสองพระองค์ มาร่วมกันพิจารณาวางผังการสร้างเมืองเชียงใหม่ในพ.ศ.1839
เมืองพะเยา จึงเป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีความเจริญทางอารยธรรม ทั้งด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และวิทยาการ มานานเกือบ 1,000 ปี โดยมีลักษณะภูมิประเทศตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ลุ่มแม่น้ำอิง ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ โดยมีแหล่งน้ำที่สำคัญคือพื้นที่ชุ่มน้ำริมแม่น้ำอิง ประกอบด้วย กว๊านน้อย” และกว๊านหลวง
กว๊านน้อย อยู่ทางด้านทิศตะวันตก กว๊านหลวงอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำอิง มีบวก มีหนอง รางน้ำ หลายแห่ง ประกอบด้วย หนองเอี้ยง หนองหญ้าม้า หนองช้างแดง หนองวัวแดง หนองเหนียว บวกเก้ง บวกกุ้ง บวกตุ้ม บวกฮกจิก มีรางน้ำเชื่อมต่อกัน และมีแม่น้ำไหลลงสู่กว๊านหลายสาย ประกอบด้วย แม่ต๊ำ ร่องไฮ แม่ใส แม่นาเรือ ห้วยลึก แม่ตุ่น แม่ต๋อม แม่ต๊ำ แม่ตุ้ม แม่เหยี่ยน แม่ปืม แม่จว้า แม่สุก และน้ำจากหนองเล็งทรายไหลลงสู่แม่น้ำอิง โดยน้ำในกว๊านด้านตะวันออก และตะวันตกได้ นอกจากนี้ยังมีวัดวาอารามหลายแห่ง ที่ตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำอิง ประกอบด้วย วัดท่าศาลา วัดญะ วัดอุ่นหล้า วัดศรีโคมคำ วัดบ้านท่า วัดสันต้นเคราะห์ วัดสันเวียงใหม่ วัดสันกว๊าน วัดสันช้างหิน วัดสันร่องไฮ วัดหนอองผักจิก เป็นต้น
และต่อมาในปี พ.ศ.2482 ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณกว๊านพะเยาพร้อมทั้งออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินเพื่อประโยชน์ในการรักษาพันธุ์พืชและสัตว์น้ำ และภายหลังจากนั้นได้มีการก่อสร้างประตูน้ำกั้นลำน้ำอิง ซึ่งก่อให้เกิดแหล่งน้ำขนาดใหญ่ คือกว๊านพะเยา เนื้อที่ 12,831 ไร่ ส่งผลให้ชุมชนต่างๆที่ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำอิงจมอยู่ภายในกว๊านพะเยา รวมถึงโบราณสถานและวัดในพระพุทธศาสนาจำนวนมากกว่า 10 วัด
วัดติโลกอาราม หนองเต่า เป็นวัดหนึ่งที่จมอยู่ในกว๊านพะเยา ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ.2019-2031 กำหนดอายุได้ประมาณ 531 ปี โดยเทียบเคียงกับกลุ่มโบราณสถานบ้าร่องไฮ
วัดติโลกอารามนั้นเป็นวัดร้าง ซึ่งพบซากโบราณสถาน มีวัชพืชคลุมหนาแน่น มีขนาดประมาณ 15 x 35 เมตร พบเสาหินทรายเจาะรูตรงกลางจำนวน ต้น มีกองอิฐ กระจายอยู่ทั่วบริเวณ มีเศษภาชนะดินเผา เศษกระเบื้องดินขอ และแผ่นดินทรายขนาดต่างๆ จำนวนมาก วัสดุส่วนมาก่อด้วยอิฐสอดิน และฉาบปูนขาวผิวนอก เมื่อวัสดุเสื่อมสภาพ น้ำฝนจึงกัดเซาะ ส่งผลให้เกิดรอยร้าว น้ำฝนสามารถซึมลงไปตามรอยร้าวเข้าสู่ตัวโบราณสถาน ประกอบกับมีพืชขึ้น รากของพืชจึงชอนไชไปตามรอยแยก ทำให้ดินที่สอเสื่อมสภาพ อิฐขาดสิ่งยึดเหนี่ยว จึงแตกแยกตัวหลุดหล่น น้ำจึงเป็นส่วนสำคัญในการทำลายโบราณสถานจนไม่สามารถคงรูปอยู่ได้ จากสภาพดังกล่าว วัดร้างติโลกอารามจึงเหลือกองอิฐที่จมอยู่ใต้น้ำเท่านั้น
นอกจากนี้กว๊านพะเยา ยังมีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพระบรมวงศานุวงศ์ อีกหลายครั้ง เช่น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีทรงเสด็จพระราชดำเนินจากลำปาง ผ่านอำเภองาวมายังอำเภอพะเยา ในวันที่ 13 มกราคม 2469 เมื่อมาถึงยังที่ประทับแรม สนามเวียงแก้ว มีบรรดาพ่อค้าประชาชนเฝ้ารอรับเสด็จจำนวนมาก
วันที่ 14 มกราคม 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีพร้อมด้วยสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จฯทอดพระเนตร ศิลาโบราณต่างๆ ที่ขุดค้นพบในเมืองพะเยา ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองพะเยา จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดพระธาตุจอมทอง วัดศรีโคมคำเพื่อนมัสการพระเจ้าตนหลวง จากนั้นเสด็จฯออกประทับแรม ที่ว่าการอำเภอเมืองพะเยา ประชาชนเฝ้าฯรับเสด็จ พ่อค้าชาวไทยใหญ่นำงาช้างมาทูลเกล้าฯ ถวาย คู่ พ่อค้าจีนถวายกิม ฮวยอั้งติ๋ว แล้วทรงรถยนต์พระที่นั่งพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินีเสด็จตำบลบ้านแม่ต๋ำ แล้วเสด็จกลับ
วันที่ 15 มกราคม 2469 ทรงรถยนต์พระที่นั่งพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินีจาจกที่ประทับแรมเมือพระเยาเสด็จฯต่อยังจังหวัดเชียงราย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จประพาสเมืองพะเยาครั้งแรก เมื่อ 13มีนาคม 2501 โดยทรงเสด็จยัง โรงเรียนพะเยาพิทยาคม สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา วัดศรีโคมคำ
จากความสำคัญของโบราณสถานที่จมอยู่ในกว๊านพะเยา และความเกี่ยวพันกับพระบรมวงศานุวงศ์ ดังกล่าว จังหวัดพะเยา โดยนายธนเษก อัศวานุวัตร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา พร้อมด้วยคณะสงฆ์จังหวัดพะเยา หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน จึงได้มีแนวคิดที่จะทำการกู้วัดติโลกอาราม ที่มีอายุไม่น้อยกว่า 500 ปี ซึ่งจมอยู่ในกว๊านพะเยา มานานกว่า 66 ปี เพื่อเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ธันวาคม 2550

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น